16 พฤศจิกายน 2553

MUS214 / 512: Exercise 1

แบบฝึกหัดหน้าที่ 1
กลับมาแล้ว หลังจากเดินทางไปทำงานที่พิมายมา ตอนนี้ผมจะทยอยเอาแบบฝึกหัดมาลงเรียงสัปดาห์ไปเรื่อย ๆ คราวนี้เป็นแบบฝึกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยจะไม่ใช่เป็นแบบฝึกที่ยืนอยู่เสกลแบบเรียงลำดับง่ายเหมือนแบบฝึกเตรียมตัวในคราวที่แล้ว

แบบฝึกนี้จะเริ่มให้เราเข้าไปร้องบันไดเสียงฮาร์โมนิคและเมโลดิกไมเนอร์ (ไปเรื่อย ๆ แล้วจะแยกกันไม่ขาดครับ) โดยข้อที่ 1 ซึ่งเป็นข้อที่ง่ายที่สุดนั้น จะให้นักศึกษาฝึกไล่บันไดเสียงขาลงอย่างง่าย แล้วจึงจะมีตรัยแอดให้ทบทวน จากนั้นจึงจะมีเสียงในบันไดเสียง เมโลดิกไมเนอร์ มาให้ฝึกกัน อย่างไรก็ดี เสียงในเมโลดิกไมเนอร์ที่ว่านี้ จะค่อนข้างร้องยากในครั้งแรกที่อ่าน แต่จริง ๆ แล้วไม่ยากเลย เพราะตอนที่เราจะร้อง มี ฟี ซี ลา (mi fi si la) แล้วหาไม่เจอ ต้องกลับไปทดลองร้อง ซอล ลา ที โด ซึ่งเป็นเสียงในบันไดเสียงเมเจอร์เสียก่อน จากนั้นเมื่อจำเสียงซอล ลา ที โด ได้แล้ว จึงจำเสียงที่ได้ยินนั้นแล้วเปลี่ยนคำร้อง (เหมือนกันกับเวลาร้องเพลงแล้วเปลี่ยนเนื้อเพลงนั่นเอง) เป็น มี ฟี ซี ลา

เมื่อผ่านข้อที่ 1 ไปได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ให้ลองร้องข้อ 2 3 และ 4 ต่อไป "อย่าข้ามข้อ" ข้อที่สองจะเป็นการร้องไล่ระดับขาขึ้นในบันไดเสียงโดยมี "ตัวขัด" เป็นโน้ตโทนิค ข้อ 3 ก็มีตัวขัดเป็นโน้ตเดียวกันแต่คราวนี้ลองร้องในบันไดเสียงอื่นดูบ้าง คราวนี้เป็นบันไดเสียง บี ไมเนอร์และเป็นการร้องโดยที่ตัวขัดนั้นย้ายไปอยู่ด้านบนแทน ข้อที่ 4 จะย้ายเอาตัวขัดที่เคยฝึกมาแล้วในข้อ 2 และ 3 ไปอยู่ที่โน้ต เอฟ ชาร์ป หรือโน้ต มี

ข้อที่ 5 และ 6 เป็นการประยุกต์เอาสิ่งที่ได้ฝึกในแบบฝึกหัดข้อก่อนหน้ามารวมกันแลัยังให้ร้องเป็นแบบ 3 พยางค์อีกด้วย คราวนี้ย้ายบันไดเสียงไปที่ จี ไมเนอร์เลย

03 พฤศจิกายน 2553

Preliminary exercise for MUS214 / MUS512

มาแล้วแบบฝึกหัดแรกของภาคเรียนนี้
แบบฝึกหัดนี้เป็นแบบฝึกเริ่มต้นของบันไดเสียงเมโลดิคไมเนอร์ ผมอยากให้ น.ศ. ทุกท่านซ้อมข้อ 1 อย่างช้า ๆ เอาเพราะ ๆ อาจตั้งเสียงตามสบาย ไม่ต้องตรงกับโน้ตก็ได้
เมื่อซ้อมแบบฝึกหัดที่ 1 จนมั่นใจว่าตอนขาขึ้นในบันไดเสียงเมโลดิค ไมเนอร์นี้ ไม่พลาดแล้ว (นั่นคือเช็คกับเสียง ซอล ลา ที โด) ก็ลองไปที่ข้อสองต่อไป
ในข้อ 2 เป็นโน้ตชุดเดิม แต่ผมเพิ่มส่วนจังหวะที่ต้องมีสมาธิขึ้นมาอีกหน่อย ไม่ใช่ร้องกันชิว ชิว อ้อ! ทั้งสองข้อมี โน้ตทรัยแอดอยู่ด้วย ระวังให้ดีครับ
ข้อ 3 จะเป็นการไล่เสกลขึ้นและลงแล้ว แต่เพื่อให้ท้าทายพวกเราอีกนิดจึงเปลี่ยนส่วนให้เป็น 3/8 เพื่อฝึกส่วนจังหวะแบบ 3 พยางค์ด้วย ส่วนขั้นคู่เราเริ่มกลับมาเจอคู่ 3 และคู่ 8 กันอีกที นอกจากนี้ยังเปลี่ยนบันไดเสียงด้วย เป็น B ไมเนอร์แล้ว

ข้อที่ 4 จะยุ่งขึ้นมามาก โดยเฉพาะในเรื่องจังหวะที่มีการใช้จังหวะ 3 พยางค์ที่ยากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วนับง่ายมาก แค่ต้องมีสติในการนับเท่านั้น สัญลักษณ์ที่ดูแล้วไม่อยากร้องนั่นน่ะ เขาเรียกว่า metric modulation sign

ข้อที่ 5 เราเจอส่วนจังหวะแบบ 5/4 แล้ว จริง ๆ ส่วนจังหวะแบบนี้ก็คือจังหวะวอลซ์ลแบบหนึ่งนั่นเอง มีส่วน ยาว - สั้น เล่นสลับกันไป ตอนนี้อยู่ G ไมเนอร์แล้ว

ข้อ 6 ใน E ไมเนอร์ เราผสมส่วนแบบสองพยางค์ 3 พยางค์ในเครื่องหมายกำหนดจังหวะแบบ 5/4 ต้องใช้สติมากหน่อยในการอ่านโน้ตนะครับ