04 มกราคม 2554

คะแนนรวมโสตทักษะ 4 ณ วันที่ 4 มกราคม 2554

คะแนนเข้าเรียนเหลืออีก 8 คะแนน
คะแนนเก็บเหลืออีก 21 คะแนน
สอบปลายภาคอีก 30 คะแนน
สามารถพิจารณาด้วยตนเองได้ว่าจะลุยต่อหรือจะถอน

31 ธันวาคม 2553

Aural Skill IV 2010 - Mid-term Points

มาแล้วครับทุกท่าน คะแนนสอบกลางภาควิชาโสตทักษะ 4 ของ ป.ตรี ดูแล้วท่าทางผมจะต้องเคี่ยวกรำพวกเราอย่างหนักเพิ่มเติม เพราะตอนนี้ยังมีจุดอ่อนอยู่ ดูจากคะแนนแล้ววิเคราะห์ได้ดังนี้ (กรุณาอ่านข้อความข้างล่างก่อนแล้วค่อยไปดูคะแนนของตนเอง อดใจสักนิด)
1. สำหรับการสอบแบบฝึกหัดและการ Sight Reading
1.1 แบบฝึกหัด ค่อนข้างทำได้ดี ซึ่งช่วยให้พวกเรามีคะแนนเพิ่มขึ้นได้อย่างดี (ได้คะแนนไปแล้วเกือบครึ่ง) อันนี้เป็นคะแนนความขยัน คนที่ไม่สามารถผ่านตรงนี้ไปได้นอกจากจะทำให้เสียคะแนนที่ไม่ควรเสียไปแล้ว การ Sight Reading ทำนอง ก็จะมีปัญหา
1.2 Rhythm ก็ยังพอจะทำได้ แต่ตอนนี้หลาย ๆ ท่านที่ใช้วิธีเดิม ๆ ในการนับอาจมีปัญหาแล้วเพราะเราเจอ Hemiola ระหว่าง 2 และ 3 ต้องใช้วิธีการนับวิธีใหม่ ซึ่งผมจะสอนอีกทีตอนเปิดเรียนมาแล้วในวันที่ 5 มกรา
1.3 Melodic minor melody อันนี้อยู่ในแบบฝึกหัดที่ให้ไปตั้งแต่ต้นเทอม หมายความว่า ควรจะซ้อมเป็นประจำทุกวันเหมือนแปรงฟันครับ
1.4 อันนี้มีเปลี่ยนคีย์ด้วย อย่างที่บอก เราไม่สามารถใช้ทักษะในการอ่านโน้ตอย่างเดียวในการ Sight Reading อีกต่อไปแล้วเพราะตอนนี้เราพบกับการเปลี่ยน Tonality ดังนั้นเราต้องฝึกสมองเราให้ทันด้วย แบบฝึกหัดที่ 8-27 จะช่วยเราใด้ (ถ้าฝึกอย่างถูกต้อง) การปรับความคิดของเราให้ทันการเปลี่ยนคีย์ในเพลงจะทำให้เราเข้าใจทิศทางและจุดมุ่งหมายของเพลงมากขึ้น โดยเฉพาะเพลงที่อยู่ในระบบ Tonal อันเป็นเพลงที่เราพบบ่อยที่สุด
2. การสอบฟัง (Dictation)
อันนี้หลาย ๆ ท่านจะมีปัญหามากเพราะไม่ทราบว่าจะไปอย่างไรต่อเวลาฟังแล้ว ลองย้อนกลับไปทบทวนดูว่าตอนที่เราร้องเราร้องอย่างไร และทำนองเพลงเป็นอย่างไร ร้องแล้วในที่สุดจำทำนองเพลงให้ได้ สร้างความเคยชินต่อความสำพันธ์ระหว่างชื่อโน้ตและเสียงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามที่ผมจะขอให้พวกเราสร้างเป็นนิสัยเลยก็คือ "กรุณาอย่าเขียน ด ร ม ฟ ลงบนโน้ตเลย" และกรุณาแยกสองส่วนให้ขาดจากกัน สองส่วนที่ว่าก็คือ
ก. ตัวอักษรเรียกโน้ต A B C D ฯลฯ อันนี้ผมอยากให้เราใช้ในการเรียก Absolute Pitch 
ข. ชื่อโน้ตในบันไดเสียง โด เร มี ฟา ฯลฯ ผมขอให้เราใช้ในการอ่านโน้ตในบันไดเสียงต่าง ๆ
ส่วนผลในการวิเคราะห์มีดังนี้
2.1 Rhythm ทำได้ค่อนข้างดีกันเป็นส่วนใหญ่ คนที่ยังพลาดอยู่โดยมากมักจะเป็นเพราะความสะเพร่า (นับจำนวนจังหวะในห้องผิด ฯลฯ) ตอนปลายภาคทุกท่านจะพบศึกหนักมากในเรื่องนี้
2.2 Melody มีปัญหาเพิ่มมากขึ้น พบว่าคนที่ทำไม่ได้จะเป็นท่านที่มีปัญหาในการ "Sight Reading" ด้วยเช่นกัน นั่นอาจจะบอกได้ว่าตอนซ้อมแบบฝึกหัดใช้วิธีกดเปียโนหรืออย่างอื่นเพื่อช่วยจำแล้วจำทำนองมาสอบ "ขอบอกว่าเป็นการฆ่าตัวตาย" ชัด ๆ เพราะมันจะส่งผลลูกโซ่ให้ไม่สามารถทำการ Sight Reading ได้และยังทำให้ไม่สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและชื่อของโน้ตในบันไดเสียงได้อีกด้วย นอกจากนั้นก็จะไม่สามารถบอกได้ว่าเสียงที่ได้ยินในคอร์ด (ข้อต่อไป) คือเสียงอะไร และทำให้บอกชื่อคอร์ดไม่ได้อีกเช่นกัน อันจะนำไปสู่ข้อที่
2.3 Chord progression ในข้อที่มีปัญหามากที่สุดนี้ จุดเริ่มของปัญหาน่าจะมาจากการที่
2.3.1 ไม่สามารถแกะทำนองหรือเสียงออกมาได้จากเสียงประสานที่ได้ยิน
2.3.2 ทฤษฎีไม่แข็งแรง ทำให้ไม่ทราบชื่อของคอร์ดที่ได้ยินนั้น
วิธีการแก้ไขที่ดีคือ 1. ได้ยิน melody และสามารถแกะได้ว่าเสียงที่ได้ยินนั้นคือโน้ตอะไรในบันไดเสียงที่ให้ไป 2. ทบทวนทฤษฎีอยู่เสมอ 3. แกะเพลงเป็นประจำ โดยเฉพาะคนที่เรียน Jazz และ Music Production 4. ซ้อมกดคอร์ดเป็นประจำ โดยกดคอร์ดที่ได้เรียนในวิชาทฤษฎี และร้องตามเสียงที่เกิดขึ้นทีละแนว

เอ้าคราวนี้ดูคะแนนได้แล้ว ดูเสร็จแล้วย้อนกลับไปอ่านบทความนี้ตั้งแต่ต้นอีกสักรอบ ย้อนกลับมาดูคะแนนแล้วย้อนไปอ่านบทความนี้อีกรอบ จากนั้นไปซ้อมอย่างถูกวิธีครับ ซ้อมอย่างถูกวิธีเท่านั้นครับที่จะทำให้เราได้ทักษะมาครับ
สวัสดี
ตารางผลการสอบกลางภาคพร้อมชาร์ต คลิกขวาโหลดดูได้เลย

16 พฤศจิกายน 2553

MUS214 / 512: Exercise 1

แบบฝึกหัดหน้าที่ 1
กลับมาแล้ว หลังจากเดินทางไปทำงานที่พิมายมา ตอนนี้ผมจะทยอยเอาแบบฝึกหัดมาลงเรียงสัปดาห์ไปเรื่อย ๆ คราวนี้เป็นแบบฝึกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยจะไม่ใช่เป็นแบบฝึกที่ยืนอยู่เสกลแบบเรียงลำดับง่ายเหมือนแบบฝึกเตรียมตัวในคราวที่แล้ว

แบบฝึกนี้จะเริ่มให้เราเข้าไปร้องบันไดเสียงฮาร์โมนิคและเมโลดิกไมเนอร์ (ไปเรื่อย ๆ แล้วจะแยกกันไม่ขาดครับ) โดยข้อที่ 1 ซึ่งเป็นข้อที่ง่ายที่สุดนั้น จะให้นักศึกษาฝึกไล่บันไดเสียงขาลงอย่างง่าย แล้วจึงจะมีตรัยแอดให้ทบทวน จากนั้นจึงจะมีเสียงในบันไดเสียง เมโลดิกไมเนอร์ มาให้ฝึกกัน อย่างไรก็ดี เสียงในเมโลดิกไมเนอร์ที่ว่านี้ จะค่อนข้างร้องยากในครั้งแรกที่อ่าน แต่จริง ๆ แล้วไม่ยากเลย เพราะตอนที่เราจะร้อง มี ฟี ซี ลา (mi fi si la) แล้วหาไม่เจอ ต้องกลับไปทดลองร้อง ซอล ลา ที โด ซึ่งเป็นเสียงในบันไดเสียงเมเจอร์เสียก่อน จากนั้นเมื่อจำเสียงซอล ลา ที โด ได้แล้ว จึงจำเสียงที่ได้ยินนั้นแล้วเปลี่ยนคำร้อง (เหมือนกันกับเวลาร้องเพลงแล้วเปลี่ยนเนื้อเพลงนั่นเอง) เป็น มี ฟี ซี ลา

เมื่อผ่านข้อที่ 1 ไปได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ให้ลองร้องข้อ 2 3 และ 4 ต่อไป "อย่าข้ามข้อ" ข้อที่สองจะเป็นการร้องไล่ระดับขาขึ้นในบันไดเสียงโดยมี "ตัวขัด" เป็นโน้ตโทนิค ข้อ 3 ก็มีตัวขัดเป็นโน้ตเดียวกันแต่คราวนี้ลองร้องในบันไดเสียงอื่นดูบ้าง คราวนี้เป็นบันไดเสียง บี ไมเนอร์และเป็นการร้องโดยที่ตัวขัดนั้นย้ายไปอยู่ด้านบนแทน ข้อที่ 4 จะย้ายเอาตัวขัดที่เคยฝึกมาแล้วในข้อ 2 และ 3 ไปอยู่ที่โน้ต เอฟ ชาร์ป หรือโน้ต มี

ข้อที่ 5 และ 6 เป็นการประยุกต์เอาสิ่งที่ได้ฝึกในแบบฝึกหัดข้อก่อนหน้ามารวมกันแลัยังให้ร้องเป็นแบบ 3 พยางค์อีกด้วย คราวนี้ย้ายบันไดเสียงไปที่ จี ไมเนอร์เลย

03 พฤศจิกายน 2553

Preliminary exercise for MUS214 / MUS512

มาแล้วแบบฝึกหัดแรกของภาคเรียนนี้
แบบฝึกหัดนี้เป็นแบบฝึกเริ่มต้นของบันไดเสียงเมโลดิคไมเนอร์ ผมอยากให้ น.ศ. ทุกท่านซ้อมข้อ 1 อย่างช้า ๆ เอาเพราะ ๆ อาจตั้งเสียงตามสบาย ไม่ต้องตรงกับโน้ตก็ได้
เมื่อซ้อมแบบฝึกหัดที่ 1 จนมั่นใจว่าตอนขาขึ้นในบันไดเสียงเมโลดิค ไมเนอร์นี้ ไม่พลาดแล้ว (นั่นคือเช็คกับเสียง ซอล ลา ที โด) ก็ลองไปที่ข้อสองต่อไป
ในข้อ 2 เป็นโน้ตชุดเดิม แต่ผมเพิ่มส่วนจังหวะที่ต้องมีสมาธิขึ้นมาอีกหน่อย ไม่ใช่ร้องกันชิว ชิว อ้อ! ทั้งสองข้อมี โน้ตทรัยแอดอยู่ด้วย ระวังให้ดีครับ
ข้อ 3 จะเป็นการไล่เสกลขึ้นและลงแล้ว แต่เพื่อให้ท้าทายพวกเราอีกนิดจึงเปลี่ยนส่วนให้เป็น 3/8 เพื่อฝึกส่วนจังหวะแบบ 3 พยางค์ด้วย ส่วนขั้นคู่เราเริ่มกลับมาเจอคู่ 3 และคู่ 8 กันอีกที นอกจากนี้ยังเปลี่ยนบันไดเสียงด้วย เป็น B ไมเนอร์แล้ว

ข้อที่ 4 จะยุ่งขึ้นมามาก โดยเฉพาะในเรื่องจังหวะที่มีการใช้จังหวะ 3 พยางค์ที่ยากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วนับง่ายมาก แค่ต้องมีสติในการนับเท่านั้น สัญลักษณ์ที่ดูแล้วไม่อยากร้องนั่นน่ะ เขาเรียกว่า metric modulation sign

ข้อที่ 5 เราเจอส่วนจังหวะแบบ 5/4 แล้ว จริง ๆ ส่วนจังหวะแบบนี้ก็คือจังหวะวอลซ์ลแบบหนึ่งนั่นเอง มีส่วน ยาว - สั้น เล่นสลับกันไป ตอนนี้อยู่ G ไมเนอร์แล้ว

ข้อ 6 ใน E ไมเนอร์ เราผสมส่วนแบบสองพยางค์ 3 พยางค์ในเครื่องหมายกำหนดจังหวะแบบ 5/4 ต้องใช้สติมากหน่อยในการอ่านโน้ตนะครับ

07 ตุลาคม 2553

เกรดวิชาโสตทักษะ 3 MUS213 / MST211 เทอม 1 ปี 2553

นี่เป็นเกรดอย่างไม่เป็นทางการ ของวิชาโสตทักษะ 3 (รวมถึงวิชาการอ่านและการร้อง 1) ดูที่รหัสเอาเองว่าใครเป็นใคร

ผมเพิ่มคะแนนให้อีก 0.5 เพื่อทำคะแนนให้กับทุกท่านโดยเฉพาะนักดนตรีในวงออร์เคสตราที่มีภาระต้องไปซ้อมบ่อย ๆ นี่เป็นการวัดผลที่ยังต้องรอการตรวจสอบอีกที ผลยืนยันได้ 90%

มีหลายท่านที่ขยันมากขึ้นเป็นที่น่าพอใจและสามารถสอบผ่านไปได้ ไม่รวมถึงคนได้เกรดสวย ๆ ซึ่งผมยินดีด้วย แต่อย่าประมาท เพราะเทอมหน้าเราจะเรียนในหัวข้อที่ยากที่สุดแล้ว และมันยากกว่าเทอมนี้มากเอาการอยู่

สำหรับคนที่ไม่ผ่าน หลาย ๆ ท่านผมเห็นความพยายามอยู่ ซึ่งผมก็ชื่นชมอยู่ในใจ แต่ความพยายามนั้นอาจจะยังไม่พอให้ผ่านไปได้ ต้องใช้มากกว่า "ความพยายาม" เพียงอย่างเดียว บางคนเสียคะแนนไปง่าย ๆ เพียงเพราะมาเข้าเรียนไม่ทัน ขาดเรียน ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย เราอาจจะต้องคิดใหม่ในเรื่องการทำเกรด โดยอย่าคิดเพียงแค่ "เอาผ่าน" แต่น่าจะคิดแบบเอาให้เกรดดีไปเลยดีกว่าไหม

04 ตุลาคม 2553

คะแนนรวมก่อนสอบ Final วิชาโสตทักษะ 3

คะแนนรวมเท่าที่ผ่านมาของ MUS213
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดเต็ม

ทุกท่านสามารถเช็คคะแนนวิชาโสตทักษะได้ คะแนนี้เป็นคะแนนก่อนสอบปลายภาค ท่านที่มาสอบ Sight Reading ไปแล้ว เอาคะแนนที่วันนี้ได้มาบวกลงไปจะได้คะแนนของตนเองเลย

การสอบจะให้ทุกท่านร้องแบบฝึกหัดเพียงคนละ 1 แนว ให้โอกาสในการร้องแบบฝึกหัด 3 เที่ยวโดยประมาณ จากนั้นจะให้ปรบมือจังหวะ 2 ข้อ Duplet และ Triplet ข้อละ 5 คะแนน แล้วจึงสอบร้องโน้ตที่ผมเตรียมเอาไว้ ข้อนี้จะเป็น 10 คะแนน

เวลาโดยรวม ๆ ของการร้องเพลงแบบฝึกหัดอยู่ 5 นาที และที่เหลืออีกราว ๆ 5 นาที ผ่านด่านนี้ไปได้ก็ถือว่าน่าจะมีฐานแน่นหนาเพียงพอไปเรียน MUS214 ซึ่งยากทีเดียวได้ครับ
อ. หง่าว